วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารอนุพันธ์

จัดทำโดย นายพงศธร ทวีธนวัฒนา 4901203042

ตราสารอนุพันธ์น่าลงทุนอย่างไร
• วิเคราะห์ง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยการตัดสินใจซื้อขายนั้นสามารถวิเคราะห์อ้างอิงได้จาก ภาพรวมของตลาด SET50 Index ไม่ต้องใช้การวิเคราะห์เป็นรายตัว
• สามารถซื้อหรือขายก่อนก็ได้ทั้ง 2 ขา เนื่องจากการคาดการณ์แนวโน้ม SET50 Index รวมทั้งราคาเสนอซื้อเสนอขายที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ลงทุนจึงมีความคล่องตัวในการตัดสินใจที่จะซื้อหรือขายได้ตามสถานการณ์ในขณะนั้น ๆ ซึ่งแตกต่างจากการซื้อขายหุ้นที่มี ทางเลือกน้อยกว่า โดยต้องซื้อมา แล้วค่อยขายออกไป หรือหากไม่มีหุ้นอยู่ ก็ต้องไปยืมหุ้นมาจึงจะสามารถขายได้
• เพิ่มอำนาจการซื้อขาย (Leverage) ให้แก่ผู้ลงทุน การลงทุนในอนุพันธ์ใช้เงินลงทุนที่ ต่ำ แต่ผลตอบแทนที่จะได้รับ ทั้งกำไรและขาดทุนสูง

การลงทุนในอนุพันธ์แตกต่างจากหุ้นอย่างไร
-หุ้นออกโดยบริษัทจดทะเบียน เมื่อผู้ลงทุนซื้อหุ้น เป็นผู้ถือหุ้น จะมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทนั้น ๆ แต่สำหรับอนุพันธ์นั้น เป็นข้อตกลง (Futures) หรือสัญญาสิทธิ (Options) ที่จะซื้อหรือขายล่วงหน้า โดยสัญญาจะเกิดก็ต่อเมื่อมีการจับคู่กันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายผ่านตลาดอนุพันธ์ และมีกำหนดวันหมดอายุด้วย


การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
• ขั้นตอนที่ 1 ทำการเปิดบัญชีกับบริษัท

• ขั้นตอนที่ 2 วางเงินหลักประกันเริ่มต้นก่อนที่จะส่งคำสั่งซื้อขาย
• ขั้นตอนที่ 3 ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัท
• ขั้นตอนที่ 4 วางเงินประกันขั้นต้นเพิ่มหรือถอนเงินประกัน
• ขั้นตอนที่ 5 สรุปกำไรขาดทุนทุกวัน
• ขั้นตอนที่ 6 หมั่นเช็คสถานะและวันหมดอายุ

การเปิดบัญชีซื้อขายอนุพันธ์ จำเป็นต้องมีเงินวางเป็นหลักประกันหรือไม่ ่
-การซื้อขายสัญญา SET50 Index Futures จะเป็นบัญชีแบบมาร์จิ้นโดยต้องฝากเงินสดเป็นหลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin) ไว้ที่บริษัทก่อนส่งคำสั่งซื้อขายทุกครั้ง ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่นำมาฝากไว้ที่บริษัท ดังนั้นบริษัทจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราที่กำหนด
-ส่วนการซื้อขาย SET50 Index Options จะแตกต่างจากการซื้อขาย SET50 Index Futures เล็กน้อย โดยผู้ซื้อ (Long) สัญญาออปชันเป็นผู้มีสิทธิเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ในขณะที่ผู้ซื้อสัญญาฟิวเจอร์สจะไม่มีสิทธิเลือกแต่มีภาระผูกพันที่ต้องปฎิบัติตามสัญญา ดังนั้นผู้ซื้อสัญญาออปชันจ่ายค่าพรีเมียมและไม่ต้องวางเงินประกันเมื่อซื้อออปชัน ส่วนผู้ซื้อสัญญาฟิวเจอร์สต้องวางเงินประกันก่อนส่งคำสั่งซื้อ ด้านของผู้ขายสัญญาออปชันจะต้องวางเงินประกันก่อนส่งคำสั่งขาย ซึ่งเหมือนกันกับผู้ขายสัญญาฟิวเจอร์ส และในทุกๆสิ้นวันทำการแต่ละวัน บริษัทจะทำการปรับสถานะบัญชีหลักประกันให้เป็นไปตามราคาตลาด ซึ่งหากค่าพรีเมียมของออปชันแต่ละรุ่นเปลี่ยนแปลงไปจะมีผลทำให้หลักประกันเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งการคำนวณหลักประกันที่เรียกเก็บจากนักลงทุนจะเป็นไปตามสูตรการคำนวณหลักประกันตามที่ตลาดอนุพันธ์ฯกำหนด

การเรียกหลักประกัน (Margin Call) คืออะไร
- เมื่อสิ้นวันทำการ ถ้าหากหลักประกันของท่านลดลงต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) ซึ่งเป็นระดับหลักประกันที่จะต้องดำรงไว้ คือ 35,000 บาทต่อสัญญาต่อข้างสำหรับ Outright position ของ SET50 Index Futures เจ้าหน้าที่การตลาดจะทำการเรียกเงินประกันจากลูกค้าเพิ่มเติม เรียกว่า การทำ Margin Call โดยลูกค้าจะต้องนำเงินสดมาวางเพิ่มในทำการถัดไป (T+1) เพื่อให้หลักประกันกลับไปอยู่ไม่น้อยกว่าระดับของหลักประกันขั้นต้นที่ 50,000 บาท


การทำ Mark-to-Market คืออะไร
- เป็นการคิดกำไรขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการ โดยคำนวณส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงรายวัน(Daily Settlement Price) ของสัญญาฟิวเจอร์ส และออปชั่นในสิ้นวันนั้นๆวันนี้เทียบกับในวันทำการก่อนหน้า ซึ่งเป็นราคาที่ตลาดอนุพันธ์ประกาศใช้ ถ้าหากในวันนั้นเกิดผลกำไร ท่านก็จะได้เงินเพิ่มในบัญชี แต่ถ้าหากเกิดผลขาดทุนขึ้น บริษัทจะหักผลขาดทุนออกจากบัญชีของท่านเช่นกัน ทำให้บัญชีของลูกค้ามีการปรับสถานะให้ตรงตามราคาตลาดทุกสิ้นวันทำการ ส่งผลให้เงินประกันที่วางไว้ขั้นต้นอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ การชำระราคาในตลาดอนุพันธ์ จึงมีความรวดเร็วกว่า คือกำหนดให้เป็นวันทำการถัดไป (T+1)


ตัวคูณดัชนี (Multiplier) คือ อะไร
-เป็นตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าของสัญญาอนุพันธ์ให้เป็นตัวเงิน ทำให้นักลงทุนทราบว่าจะต้องจ่ายเงินหรือรับเงินเป็นจำนวนกี่บาท เนื่องจากดัชนี SET 50 มีหน่วยเป็นจุด โดยแต่ละจุดของดัชนี SET 50 Index Futures ถูกกำหนดให้มีมูลค่าจุดละ 1,000 บาท สำหรับ SET50 Index Options ดัชนี 1 จุด จะมีมูลค่าจุดละ 200 บาท

การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการลงทุน!!

ที่มา
http://www.united.com/

คำถาม
1.เหตุใดตราสารอนุพันธ์จึงน่าลงทุน?
2.Mark to Market คือ อะไร?
3.Multiplier คือ อะไร?

4 ความคิดเห็น:

251utccbx007g2 กล่าวว่า...

คำตอบคือ

1.ตอบ
1.1วิเคราะห์ง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยการตัดสินใจซื้อขายนั้นสามารถวิเคราะห์อ้างอิงได้จาก ภาพรวมของตลาด SET50 Index ไม่ต้องใช้การวิเคราะห์เป็นรายตัว
1.2สามารถซื้อหรือขายก่อนก็ได้ทั้ง 2 ขา เนื่องจากการคาดการณ์แนวโน้ม SET50 Index รวมทั้งราคาเสนอซื้อเสนอขายที่แตกต่างกัน
1.3เพิ่มอำนาจการซื้อขาย (Leverage) ให้แก่ผู้ลงทุน

2.ตอบ
การทำ Mark-to-Market คือ เป็นการคิดกำไรขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการ โดยคำนวณส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงรายวัน(Daily Settlement Price) ของสัญญาฟิวเจอร์ส และออปชั่นในสิ้นวันนั้นๆวันนี้เทียบกับในวันทำการก่อนหน้า ซึ่งเป็นราคาที่ตลาดอนุพันธ์ประกาศใช้

3.ตอบ
ตัวคูณดัชนี (Multiplier) คือ เป็นตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าของสัญญาอนุพันธ์ให้เป็นตัวเงิน ทำให้นักลงทุนทราบว่าจะต้องจ่ายเงินหรือรับเงินเป็นจำนวนกี่บาท

ตอบคำถามโดย นางสาวชนม์นิภา ขุนจันทร์
คณะบัญชี G2
เลขทะเบียน 48210318

251utccbx007g10 กล่าวว่า...

1.-วิเคราะห์ง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยการตัดสินใจซื้อขายนั้นสามารถวิเคราะห์อ้างอิงได้จาก ภาพรวมของตลาด SET50 Index ไม่ต้องใช้การวิเคราะห์เป็นรายตัว
-สามารถซื้อหรือขายก่อนก็ได้ทั้ง 2 ขา เนื่องจากการคาดการณ์แนวโน้ม SET50 Index รวมทั้งราคาเสนอซื้อเสนอขายที่แตกต่างกัน
-เพิ่มอำนาจการซื้อขาย (Leverage) ให้แก่ผู้ลงทุน

2.การทำ Mark-to-Market คือ เป็นการคิดกำไรขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการ โดยคำนวณส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงรายวัน(Daily Settlement Price) ของสัญญาฟิวเจอร์ส และออปชั่นในสิ้นวันนั้นๆวันนี้เทียบกับในวันทำการก่อนหน้า ซึ่งเป็นราคาที่ตลาดอนุพันธ์ประกาศใช้

3.ตัวคูณดัชนี (Multiplier) คือ เป็นตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าของสัญญาอนุพันธ์ให้เป็นตัวเงิน ทำให้นักลงทุนทราบว่าจะต้องจ่ายเงินหรือรับเงินเป็นจำนวนกี่บาท


นางสาวลดาวัลย์ พองาม
เลขทะเบียน 48210277

251utccbx007g10 กล่าวว่า...

ตอบโดย น.ส.อรวลี ผ่องแผ้ว
เลขทะเบียน 48210346 กลุ่ม 10

1.ตอบ
-วิเคราะห์ง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยการตัดสินใจซื้อขายนั้นสามารถวิเคราะห์อ้างอิงได้จาก ภาพรวมของตลาด SET50 Index ไม่ต้องใช้การวิเคราะห์เป็นรายตัว
-สามารถซื้อหรือขายก่อนก็ได้ทั้ง 2 ขา เนื่องจากการคาดการณ์แนวโน้ม SET50 Index รวมทั้งราคาเสนอซื้อเสนอขายที่แตกต่างกัน
-เพิ่มอำนาจการซื้อขาย (Leverage) ให้แก่ผู้ลงทุน

2.การคิดกำไรขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการ โดยคำนวณส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงรายวัน(Daily Settlement Price) ของสัญญาฟิวเจอร์ส และออปชั่นในสิ้นวันนั้นๆวันนี้เทียบกับในวันทำการก่อนหน้า

3.(Multiplier) คือ ตัวคูณดัชนี เป็นตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าของสัญญาอนุพันธ์ให้เป็นตัวเงิน ทำให้นักลงทุนทราบว่าจะต้องจ่ายเงินหรือรับเงินเป็นจำนวนกี่บาท

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

1.ตอบ
1.1 วิเคราะห์ง่าย ไม่ยุ่งยาก
1.2 มีความคล่องตัวในการตัดสินใจที่จะซื้อหรือขายได้ตามสถานการณ์ในขณะนั้น ๆ
1.3 ใช้เงินลงทุนที่ ต่ำ แต่ผลตอบแทนที่จะได้รับ ทั้งกำไรและขาดทุนสูง
2.ตอบ
เป็นการคิดกำไรขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการ โดยคำนวณส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงรายวัน(Daily Settlement Price) ของสัญญาฟิวเจอร์ส และออปชั่นในสิ้นวันนั้นๆวันนี้เทียบกับในวันทำการก่อนหน้า ซึ่งเป็นราคาที่ตลาดอนุพันธ์ประกาศใช้
3.ตอบ
เป็นตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าของสัญญาอนุพันธ์ให้เป็นตัวเงิน ทำให้นักลงทุนทราบว่าจะต้องจ่ายเงินหรือรับเงินเป็นจำนวนกี่บาท

น.ส.อนงค์พร รัชตธีรวัฒน์ 4902100363