วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การจัดหาเงินทุนระยะสั้น จัดทำโดยนางสาวกุลธิดา อินทร์แดง 47210033

การจัดหาเงินทุนระยะสั้น ( Short - Term Financing )
การจัดหาเงินทุนเป็นหน้าที่หนึ่งของผู้จัดการทางการเงิน ซึ่งต้องเลือกแหล่งเงินทุนให้เหมาะสมกับการใช้เงินทุนนั้น ๆ การจัดหาเงินทุนระยะสั้น หมายถึง เงินทุนที่ธุรกิจได้จัดหามาเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะภายใน 1 ปี แหล่งที่มาของเงินทุนระยะสั้นที่สำคัญได้แก่
1. บัญชีเงินเชื่อ ( Open Account ) หมายถึง ผู้ขายสินค้าส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อพร้อมทั้งใบแจ้งหนี้ ซึ่งแสดงรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับราคาสินค้า จำนวนสินค้า ยอดเงินที่ต้องชำระโดยผู้ซื้อไม่ต้องเซ็นหลักฐานใดๆที่แสดงความเป็นหนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะมีการตรวจสอบฐานะทางการเงินของผู้ซื้อก่อน
2. ตั๋วเงินจ่าย ( Note Payable ) ในกรณีนี้ผู้ขายจะขอให้ผู้ซื้อลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อรับรองสภาพการเป็นหนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้จะระบุวันที่ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินไว้อย่างชัดเจน
3. ตั๋วแลกเงิน ( Trade Acceptance ) เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อต้องเซ็นรับรองการเป็นหนี้ไว้เป็นหลักฐาน ผู้ขายจะออกดราฟท์ให้ผู้ซื้อเซ็นรับรองว่าจะชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อถึงกำหนดจะให้นำดราฟท์นั้นไปขึ้นเงินที่ธนาคารใด เมื่อผู้ซื้อเซ็นแล้วดราฟท์ก็จะกลายเป็นตั๋วแลกเงิน และตั๋วแลกเงินนี้สามารถนำไปขายลดในท้องตลาดเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที
เงื่อนไขการขาย ( Term of sale )
ก. COD ( Cash on Delivery ) : ผู้ซื้อต้องชำระเงินสดทันทีที่ได้รับสินค้าจากผู้ขาย เงื่นไขนี้ผู้ขายมีความเสี่ยงจากการที่ผู้ซื้อไม่ยอมรับสินค้าได้ เช่น Pizza , KFC
ข. CBD ( Cash Before Delivery ) : ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าสินค้าก่อนที่จะได้รับสินค้า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของผู้ขาย
ค. การกำหนดช่วงเวลาการชำระเงินโดยไม่ให้ส่วนลด เช่น เงื่อนไข Net 45 แสดงว่าผู้ซื้อไม่ต้องชำระเงินทันทีที่ซื้อสินค้าแต่ต้องชำระภายใน 45 วัน
ง. การกำหนดช่วงเวลาการชำระเงินโดยให้ส่วนลดเงินสด เช่น เงื่อนไข 2/15,N/45 แสดงว่าผู้ขายให้เครดิตแก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องชำระเงินทันที แต่จูงใจให้ผู้ซื้อรีบนำเงินมาชำระเร็วขึ้นโดยกำหนดส่วนลดเงินสดไว้
จ. Dating จะใช้กับธุรกิจที่ขายสินค้าตามฤดูกาล ซึ่งผู้ขายต้องการให้ลูกค้าสั่งสินค้าล่วงหน้าก่อนที่จะถึงฤดูกาลนั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขายสามารถทำการผลิตได้ต่อเนื่อง และไม่ต้องเก็บรักษาสินค้านั้นไว้รอจนกระทั่งถึงฤดูกาลที่ต้องการสินค้านั้น และผู้ซื้อก็ไม่ต้องจ่ายเงินค่าสินค้าจนกว่าจะขายสินค้าได้

ต้นทุนของเครดิตทางการค้า
ผู้ขายที่ให้เครดิตทางการค้าจะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการที่เงินจมในบัญชีลูกหนี้การค้า ทำให้เสียโอกาสจากการได้รับผลตอบแทน และสำหรับผู้ซื้อที่ชำระเงินสดในวันที่ครบกำหนดชำระ จะมีค่าเสียโอกาสเกิดขึ้น เรียกว่า ต้นทุนไม่เอาส่วนลด คำนวณได้ดังนี้
ต้นทุนที่ไม่เอาส่วนลด =[ อัตราส่วนลด / ( 100 - อัตราส่วนลด )] x [360 / ( ระยะเวลาให้เครดิต - ระยะเวลาให้ส่วนลด )]
หากเงื่อนไขการขายเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการขยายระยะเวลาการให้เครดิตนานออกไป เช่น เดิมให้เครดิต 2/15,N/30 เปลี่ยนเเป็น 2/15, N/60 จะทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง หรือต้นทุนไม่เอาส่วนลดต่ำลง นักศึกษาลองพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ได้โดยการแทนค่าในสูตร ต้นทุนไม่เอาส่วนลด
ข้อดีของเครดิตการค้า
1. เป็นแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ทั่วไปและหาได้ง่าย2. ไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ3. การขอเครดิตการค้าไม่ต้องทำเป็นทางการ4. เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีเครดิตพอที่จะหาเงินจากแหล่งอื่น5. มีความยืดหยุ่นสูง เช่นอาจจะเลื่อนเวลาการชำระเงินได้
คำถาม
1.การจัดหาเงินทุนระยะสั้นหมายถึงอะไรและแหล่งที่มาของเงินทุนระยะสั้นที่สำคัญได้แก่อะไรบ้าง
2 ผู้ขายที่ให้เครดิตทางการค้าจะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากอะไร
3. ข้อดีของเครดิตการค้ามีกี่ข้อและมีอะไรบ้าง

แหล่งที่มา
http://www.geocities.com/teacher_jrp/s_finamain1.htm